กระบี่พลิกโฉมการศึกษา สร้างโอกาสด้วยนวัตกรรม

กระบี่พลิกโฉมการศึกษา สร้างโอกาสด้วยนวัตกรรม

จังหวัดกระบี่ได้พัฒนาโมเดลนวัตกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้เชิงประจักษ์ ผ่านแนวคิดที่เรียกว่า “Krabi Localized Innovative Education Model (KLIEM)” ซึ่งเป็นการนำเอาบริบท วัฒนธรรมท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในจังหวัดกระบี่มาใช้เป็นฐานในการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการประมงที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการในตลาดแรงงาน และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อการพัฒนานักเรียน นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน เช่น การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้เฉพาะของจังหวัดกระบี่ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การจัดการโรงแรมและการบริการที่มีมาตรฐาน รวมไปถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับการประมงที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของพื้นที่และยังมีการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาระดับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อการพัฒนานักเรียน ดังนี้ การพัฒนาคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาด้วยเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณที่จัดสรรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนานวัตกรรมได้จริง เกิดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการศึกษาทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่ทันสมัยและเชื่อมโยงกับโลกภายนอก ทำให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนนำร่องในจังหวัดกระบี่มีความก้าวหน้าที่ชัดเจนในหลายมิติ ตัวอย่างเช่น  นอกจากนี้การจัดการศึกษาในโรงเรียนนำร่องยังได้รับผลดีจากการมีอิสระในการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ที่เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น การปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ช่วยพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนและเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชน ทั้งนี้ โรงเรียนในโครงการได้รับผลสัมฤทธิ์ที่ดี ทั้งในด้านการเรียน การพัฒนาทักษะชีวิตและการสร้างโอกาสในอาชีพ จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในจังหวัดกระบี่ได้สร้างผลลัพธ์ที่โดดเด่นและก้าวหน้าในหลายมิติ ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และการใช้พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนมีอิสระในการปรับหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น ผลักดันให้เกิดการพัฒนาทักษะชีวิตที่ตอบโจทย์ทั้งในด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคต การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน ยังเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตของนักเรียน ส่งผลให้การศึกษาของจังหวัดกระบี่มีความยั่งยืนและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป

BKD 5G Model: นวัตกรรมบริหารสถานศึกษาสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

BKD 5G Model: นวัตกรรมบริหารสถานศึกษาสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

การบริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบันต้องอาศัยนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคมอย่างรอบด้าน BKD 5G Model เป็นหนึ่งในโมเดลที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและทันสมัย โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาทั้งองค์กร บุคลากร และการเรียนรู้ของนักเรียน 1. นวัตกรรม BKD 5G Model นั้นคืออะไร?BKD 5G Model เป็นโมเดลการบริหารจัดการสถานศึกษาที่พัฒนาโดยใช้ชื่อของโรงเรียนบ้านควนแดง สพป.กระบี่ (Bankhuandang) และเพิ่มคำว่า 5G เพื่อสื่อถึงความทันสมัยและก้าวหน้า การดำเนินงานของโมเดลนี้ใช้กระบวนการ PDCA (Plan, Do, Check, Act) ในการวางแผนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีหัวใจสำคัญ 3 ประการที่ขับเคลื่อนการบริหาร ได้แก่: 2. ความเป็นมาและเหตุผลในการพัฒนานวัตกรรมก่อนการพัฒนา BKD 5G Model โรงเรียนบ้านควนแดง สพป.กระบี่ ใช้ KRIDSIN Model เป็นแนวทางในการบริหารจัดการ แต่พบว่าโมเดลดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับสภาพของโรงเรียนและชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไปนายกริชศิลป์ วรินทร์เวช ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนแดง จึงร่วมมือกับคณะครูปรับปรุงและพัฒนาโมเดลใหม่ที่มีความชัดเจนในทิศทางการพัฒนา และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคมได้มากขึ้น จนเกิดเป็น “BKD 5G Model” ในระยะแรกของการดำเนินงาน โมเดลนี้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการมีส่วนร่วมของชุมชน 3….